สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยเสด็จ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ไปทรงเยี่ยมราษฎร ทั่วทุกภูมิภาค ในประเทศไทย
ทรงสัมผัสถึงความเดือดร้อนทุกข์เข็ญของราษฎรด้วยพระองค์เอง ขณะเดียวกันได้ทอดพระเนตรงานหัตถกรรมที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวนาชาวไร่ ทรงชื่นชมฝีมือช่างและนิสัยรักศิลปะของคนไทย จึงมีพระราชปณิธานที่จะให้ราษฎรทั้งหลายหลุดพ้นจากความยากจน และมีรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวด้วยการริเริ่มโครงการศิลปาชีพขึ้น เพื่อทรงส่งเสริมให้ชาวบ้านมีรายได้เสริมจากการทำงานหัตถกรรมโดยไม่ทิ้งอาชีพเกษตรกรรม ต่อมาพุทธศักราช 2519 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ - มีพระราชประสงค์ที่จะช่วยแก้ปัญหาปากท้องของราษฎร
ให้มีรายได้เพิ่ม และพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น - อนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมที่เป็นภูมิปัญญาไทยไม่ให้สูญหาย
ให้มีรายได้เพิ่ม และพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
Arts of
the Kingdom
การดำเนินงานของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ฯ แบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่
ส่วนกลาง คือ สถาบันสิริกิติ์ และส่วนภูมิภาค คือ
ศูนย์ศิลปาชีพและสมาชิก
ศิลปาชีพต่างจังหวัด ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกองศิลปาชีพ
สถาบันสิริกิติ์
พุทธศักราช 2521 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้ง โรงฝึกศิลปาชีพ ภายในสวนจิตรลดา เริ่มจากเต็นท์เล็ก ๆ ข้างกองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อใช้เป็นที่ฝึกหัดงานหัตถศิลป์แขนงต่าง ๆ ที่นับวันจะสูญหาย โดยเฉพาะงานที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ
ทรงคัดเลือกบุตรหลานชาวนาชาวไร่ที่ยากจน ไม่มีที่ดินทำกิน
ด้วยพระองค์เอง และพระราชทานโอกาสให้เข้ามาฝึกอบรมงานหัตถกรรมเพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้และสืบสานงานศิลปะชั้นสูงของไทย
เมื่อนักเรียนเพิ่มจำนวนมากขึ้นจึงได้ขยายเป็นโรงฝึก เปิดสอน 23 แผนก
เช่น
แผนกเครื่องเงิน – เครื่องทอง แผนกถมทอง แผนกคร่ำ แผนกลงยาสี แผนกแกะสลักไม้ แผนกตกแต่งปีกแมลงทับ เป็นต้น
เมื่อพุทธศักราช 2553 โรงฝึกศิลปาชีพ สวนจิตรลดา ได้ยกสถานะเป็น
“สถาบันสิริกิติ์”
สืบเนื่องกว่า 40 ปี สถาบันสิริกิติ์สร้างสรรค์บุคลากรและผลงานประณีตศิลป์ชั้นสูง เป็นศูนย์กลางการเรียนการสอนงานศิลปะไทยเพื่อช่วยสร้างชีวิตที่ดีขึ้นให้แก่ราษฎรควบคู่ไปกับการธำรงรักษามรดกศิลป์ของไทย
ทรงตั้งพระราชหฤทัยให้ผลงานเหล่านี้เป็นสมบัติของแผ่นดิน ด้วยทรงเชื่อมั่นในสายเลือดคนไทยทุกคนมีความเป็นช่างและ
มีศิลปะอยู่ในตัวเอง
ดังพระราชดำรัส
“...ข้าพเจ้านั้นภูมิใจเสมอมาว่า คนไทยมีสายเลือดของช่างฝีมืออยู่ทุกคน
ไม่ว่าจะเป็นชาวไร่ชาวนา หรือมีอาชีพใด อยู่สารทิศใด คนไทยมีความละเอียดอ่อน และฉับไวต่อการรับศิลปะทุกชนิด ขอเพียงแต่ให้เขามีโอกาส
ได้เรียนรู้
และฝึกฝน
เขาก็จะแสดงความสามารถออกมาให้เห็นได้...”
พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้า ฯ ถวายพระพรชัยมงคล
ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา
วันที่ 11 สิงหาคม 2532
พิพิธภัณฑ์ศิลป์แผ่นดิน
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
มีพระราชกระแสรับสั่งว่าผลงานของสถาบันสิริกิติ์ให้ทำเข้าพิพิธภัณฑ์เป็นสมบัติของแผ่นดิน นอกจากจะมีผลงานอันทรงคุณค่าที่รักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์แล้ว
งานช่างต่าง ๆ
ที่เกือบจะสูญหายก็กลับมามีผู้สืบทอด ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้ภาคภูมิใจใน
ศิลปวัฒนธรรมของชาติไทย เรียนรู้และรับรู้ทั่วกันว่าคนไทยมีศิลปะ มีจิตใจที่อ่อนโยน
พิพิธภัณฑ์ศิลป์แผ่นดิน จัดแสดงผลงานศิลปะชิ้นสำคัญของสถาบันสิริกิติ์
ผลงานทุกชิ้นรังสรรค์ขึ้นใหม่ในแผ่นดินรัชกาลที่ 9 แต่ยังคงรักษาแบบวิธีงานช่างตามจารีตไทย
เช่น บุษบกมาลา พระที่นั่งพุดตานถมทอง เรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์จำลอง
ตรีพิธพรรณบุกษก ฉากปักไหมน้อย เรื่อง อิเหนา
หรือ ฉากจำหลักไม้ เรื่อง สังข์ทองและหิมพานต์ ฯลฯ
นอกจากนี้ ภายในพิพิธภัณฑ์ ฯ ยังมีผลงานหัตถศิลป์อันทรงคุณค่า
อีก
จำนวนมาก อาทิ จักสานย่านลิเภา จักสานไม้ไผ่ลายขิด ตกแต่งปีกแมลงทับ แกะสลักตุ๊กตาไม้ เป็นต้น
พิพิธภัณฑ์ศิลป์แผ่นดินจึงเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งเดียวที่จัดแสดงงานศิลปะ
อันเกิดจาก
สองมือของบุตรหลานชาวนาชาวไร่ไทย ช่างสถาบันสิริกิติ์สร้างสรรค์ผลงานโดยไม่มีแบบ ไม่มีพิมพ์ เริ่มต้นจากศูนย์ ไม่มีพื้นฐานงานศิลปะ บางคนอ่าน
ไม่ออก เขียนไม่ได้
แต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณใน
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง งานหัตถศิลป์สมบัติของแผ่นดิน จึงฝากไว้เป็นมรดกให้ลูกหลาน
ได้ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ความเป็นชาติไทย
สถาบันสิริกิติ์
พุทธศักราช 2521 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้ง โรงฝึกศิลปาชีพ ภายในสวนจิตรลดา เริ่มจากเต็นท์เล็ก ๆ ข้างกองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อใช้เป็นที่ฝึกหัดงานหัตถศิลป์แขนงต่าง ๆ ที่นับวันจะสูญหาย โดยเฉพาะงานที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ
ทรงคัดเลือกบุตรหลานชาวนาชาวไร่ที่ยากจน ไม่มีที่ดินทำกิน
ด้วยพระองค์เอง และพระราชทานโอกาสให้เข้ามาฝึกอบรมงานหัตถกรรมเพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้และสืบสานงานศิลปะชั้นสูงของไทย
เมื่อนักเรียนเพิ่มจำนวนมากขึ้นจึงได้ขยายเป็นโรงฝึก เปิดสอน 23 แผนก
เช่น
แผนกเครื่องเงิน – เครื่องทอง แผนกถมทอง แผนกคร่ำ แผนกลงยาสี แผนกแกะสลักไม้ แผนกตกแต่งปีกแมลงทับ เป็นต้น
เมื่อพุทธศักราช 2553 โรงฝึกศิลปาชีพ สวนจิตรลดา ได้ยกสถานะเป็น
“สถาบันสิริกิติ์”
สืบเนื่องกว่า 40 ปี สถาบันสิริกิติ์สร้างสรรค์บุคลากรและผลงานประณีตศิลป์ชั้นสูง เป็นศูนย์กลางการเรียนการสอนงานศิลปะไทยเพื่อช่วยสร้างชีวิตที่ดีขึ้นให้แก่ราษฎรควบคู่ไปกับการธำรงรักษามรดกศิลป์ของไทย
ทรงตั้งพระราชหฤทัยให้ผลงานเหล่านี้เป็นสมบัติของแผ่นดิน ด้วยทรงเชื่อมั่นในสายเลือดคนไทยทุกคนมีความเป็นช่างและ
มีศิลปะอยู่ในตัวเอง
ดังพระราชดำรัส
“...ข้าพเจ้านั้นภูมิใจเสมอมาว่า คนไทยมีสายเลือดของช่างฝีมืออยู่ทุกคน
ไม่ว่าจะเป็นชาวไร่ชาวนา หรือมีอาชีพใด อยู่สารทิศใด คนไทยมีความละเอียดอ่อน และฉับไวต่อการรับศิลปะทุกชนิด ขอเพียงแต่ให้เขามีโอกาส
ได้เรียนรู้
และฝึกฝน
เขาก็จะแสดงความสามารถออกมาให้เห็นได้...”
พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้า ฯ ถวายพระพรชัยมงคล
ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา
วันที่ 11 สิงหาคม 2532
พิพิธภัณฑ์ศิลป์แผ่นดิน
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
มีพระราชกระแสรับสั่งว่าผลงานของสถาบันสิริกิติ์ให้ทำเข้าพิพิธภัณฑ์เป็นสมบัติของแผ่นดิน นอกจากจะมีผลงานอันทรงคุณค่าที่รักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์แล้ว
งานช่างต่าง ๆ
ที่เกือบจะสูญหายก็กลับมามีผู้สืบทอด ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้ภาคภูมิใจใน
ศิลปวัฒนธรรมของชาติไทย เรียนรู้และรับรู้ทั่วกันว่าคนไทยมีศิลปะ มีจิตใจที่อ่อนโยน
พิพิธภัณฑ์ศิลป์แผ่นดิน จัดแสดงผลงานศิลปะชิ้นสำคัญของสถาบันสิริกิติ์
ผลงานทุกชิ้นรังสรรค์ขึ้นใหม่ในแผ่นดินรัชกาลที่ 9 แต่ยังคงรักษาแบบวิธีงานช่างตามจารีตไทย
เช่น บุษบกมาลา พระที่นั่งพุดตานถมทอง เรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์จำลอง
ตรีพิธพรรณบุกษก ฉากปักไหมน้อย เรื่อง อิเหนา
หรือ ฉากจำหลักไม้ เรื่อง สังข์ทองและหิมพานต์ ฯลฯ
นอกจากนี้ ภายในพิพิธภัณฑ์ ฯ ยังมีผลงานหัตถศิลป์อันทรงคุณค่า
อีก
จำนวนมาก อาทิ จักสานย่านลิเภา จักสานไม้ไผ่ลายขิด ตกแต่งปีกแมลงทับ แกะสลักตุ๊กตาไม้ เป็นต้น
พิพิธภัณฑ์ศิลป์แผ่นดินจึงเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งเดียวที่จัดแสดงงานศิลปะ
อันเกิดจาก
สองมือของบุตรหลานชาวนาชาวไร่ไทย ช่างสถาบันสิริกิติ์สร้างสรรค์ผลงานโดยไม่มีแบบ ไม่มีพิมพ์ เริ่มต้นจากศูนย์ ไม่มีพื้นฐานงานศิลปะ บางคนอ่าน
ไม่ออก เขียนไม่ได้
แต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณใน
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง งานหัตถศิลป์สมบัติของแผ่นดิน จึงฝากไว้เป็นมรดกให้ลูกหลาน
ได้ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ความเป็นชาติไทย
แกะสลักไม้และแกะสลักตุ๊กตาไม้
ตุ๊กตาไม้โมกมันแกะสลัก
งานแกะสลักไม้
คร่ำ
ผอบคร่ำเงินคร่ำทอง ประดับเพชร
ไข่มุก และพลอยนพเก้า
ตลับทรงผลฟักทองคร่ำเงินคร่ำทอง
ประดับเพชร
งานคร่ำทอง
ถมทอง
กระเป๋าราตรีทรงผลมะเฟืองถมทอง
ประดับเพชร
กระเป๋าราตรีทรงข้างรีถมตะทอง
ประดับเพชร
พระกรัณฑ์ถมตะทอง
เครื่องเงินเครื่องทอง
ข้องปลาสานเส้นเงิน
กอบัวเงิน-ทอง
ปักผ้า
งานภาพปักไหมน้อย
งานภาพปักไหมน้อย
งานภาพปักไหมน้อย
ตกแต่งปีกแมลงทับ
กินรีไม้แกะสลักตกแต่งปีกแมลงทับ
เครื่องทรงทองคำ ประดับเพชร
ไก่แจ้ไม้แกะสลัก ตกแต่งปีกแมลงทับ
กล่องตกแต่งแผ่นสานย่านลิเภา
สอดปีกแมลงทับ ประดับเพชร
พิพิธภัณฑ์ศิลป์
แผ่นดิน
ตั้งอยู่ที่ ตำบลเกาะเกิด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เปิดทำการ: วันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 10.00 - 15.30 น.
ปิดทำการ: วันจันทร์ และวันอังคาร เทศกาลปีใหม่และเทศกาลสงกรานต์
ค่าบัตรเข้าชม
- บัตรราคา 150 บาท สำหรับประชาชนทั่วไป
- บัตรราคา 75 บาท สำหรับนักเรียน นักศึกษา และผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป
(โปรดแสดงบัตรประจำตัว)
เฉพาะชาวต่างชาติสามารถใช้บัตรเข้าชมพระบรมมหาราชวังได้
โทรศัพท์: +66-2-283-9557 หรือ +66-3-535-2995
เว็บไซต์: www.artsofthekingdom.com
แผ่นดิน
ตั้งอยู่ที่ ตำบลเกาะเกิด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เปิดทำการ: วันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 10.00 - 15.30 น.
ปิดทำการ: วันจันทร์ และวันอังคาร เทศกาลปีใหม่และเทศกาลสงกรานต์
ค่าบัตรเข้าชม
- บัตรราคา 150 บาท สำหรับประชาชนทั่วไป
- บัตรราคา 75 บาท สำหรับนักเรียน นักศึกษา และผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป
(โปรดแสดงบัตรประจำตัว)
เฉพาะชาวต่างชาติสามารถใช้บัตรเข้าชมพระบรมมหาราชวังได้
โทรศัพท์: +66-2-283-9557 หรือ +66-3-535-2995
เว็บไซต์: www.artsofthekingdom.com