การแสดงโขนศาลาเฉลิมกรุง รอบนักท่องเที่ยวพระบรมมหาราชวัง
จัดขึ้นเพื่อเป็นการดำเนินการตามรอยพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ในการอนุรักษ์ สืบสาน และเผยแพร่ศิลปะ
การแสดงนาฏศิลป์ชั้นสูงของชาติไทย นอกจาก “โขน” ซึ่งเป็นนาฏกรรม
ชั้นสูงของไทยแล้ว สถานที่จัด
การแสดงคือ ศาลาเฉลิมกรุง เป็นโรงมหรสพหลวงที่มีประวัติความเป็นมาอัน
ยาวนานกว่ากึ่งศตวรรษ เป็นเสมือนสถาบันสัญลักษณ์แห่งการนำเสนอ
ศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ นำเสนอด้วยรูปแบบของการแสดงอันวิจิตรตระการตา ถูกต้องตามจารีตแบบแผน ที่ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติจะได้รับชมการแสดง
ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ที่บ่งบอก
ความเป็นไทยได้อย่างแท้จริง
ทั้งนี้การแสดง “โขน” ของประเทศไทยได้รับการประกาศจากยูเนสโกให้
“โขนไทย” (Khon, Masked Dance Drama in Thailand) ได้รับการ
ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางด้านวัฒนธรรมของมนุษยชาติ (Intangible Cultural Heritage of Humanity)
Khon
Performance
การจัดการแสดงโขนศาลาเฉลิมกรุงนั้น เป็นการรักษาอัตลักษณ์แห่งโขนไว้
อย่างครบถ้วน ทั้งในด้านขนบจารีตในการแสดงและพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่อง (Authenticity) คุณค่าแห่งศิลปะชั้นสูงอันเป็นส่วนหนึ่งของมรดกไทย (Thai Heritage) และความเป็นมหรสพเพื่อความบันเทิง (Entertainment) ธำรงไว้
ซึ่งความงดงามตามจารีตดั้งเดิม ทั้งลีลาและท่วงท่าการแสดง ล้วนเน้นความประณีตอ่อนช้อย การแสดงมีกระบวนท่าที่สวยงาม รวดเร็ว กระชับ ดนตรีไทยบรรเลงสด ใช้การพากย์เจรจาที่แสดงศิลปะของการเปล่งเสียงเป็นท่วงทำนอง
โดยให้เห็นลีลาของผู้พากย์บนเวทีการแสดง ประกอบด้วยเทคนิคแสง สี ภาพประกอบ ตลอดจนฉากวิจิตรงดงามตระการตาอย่างสมัยใหม่ พร้อมมีคำบรรยาย
ภาษาอังกฤษและภาษาจีนเพื่ออธิบายเรื่องราวตลอดการแสดง
“โขน” นาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยซึ่งมีมาแต่โบราณกาลถือกำเนิดมาจาก
การละเล่นดึกดำบรรพ์ หรือชักนาคดึกดำบรรพ์ และการแสดงหนังใหญ่
นำมาผสมผสานกับการแสดงกระบี่กระบองจนเกิดเป็น
การแสดงที่
เรียกกันว่า “โขน”
“โขน” นาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยซึ่งมีมาแต่โบราณกาลถือกำเนิดมาจาก
การละเล่นดึกดำบรรพ์ หรือชักนาคดึกดำบรรพ์ และการแสดงหนังใหญ่
นำมาผสมผสานกับการแสดงกระบี่กระบองจนเกิดเป็น
การแสดงที่
เรียกกันว่า “โขน”
เรื่องย่อ: ณ สวนของพระอุมามเหสีของมหาเทพอิศวร หนุมานเที่ยวเล่นเข้าไปในสวนพระอุมา เที่ยวเก็บผลไม้กินโดยมิได้รับอนุญาต พระอุมา
จึงสาปหนุมานให้อ่อนกำลังฤทธิ์ลง แต่ยังเมตตาให้โอกาสหนุมานได้กำลังฤทธิ์กลับคืนเมื่อพบพระรามลูบหัวจรดหางสามครั้ง ครั้นหนุมาน
ได้มาพบพระราม
จึงเข้าหาด้วยความภักดี พระรามลูบหัวจรดหาง พลังฤทธิ์ของหนุมานจึง
กลับคืนมา หนุมานนำเหล่าญาติมิตรและกองทัพเข้ามาสวามิภักดิ์อยู่กับพระราม พระรามให้
สุครีพและหนุมานไปสร้างถนน
ข้ามไปกรุงลงกา
แต่ที่ใต้สมุทรมีนางสุพรรณมัจฉา กำลังคุมบริวารปลานำก้อนหิน
ไปทิ้งเพื่อ
ขัดขวางการสร้างทาง หนุมานจึงจับนางสุพรรณมัจฉาได้ และสามารถสร้างทางจนสำเร็จ พระรามและทศกัณฐ์จึงได้กรีฑาทัพเข้า
ต่อสู้กัน
ข้อมูลนักท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ซื้อบัตรเข้าชมพระบรมมหาราชวังสามารถนำบัตรเข้าชมการแสดงโขน ณ โรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง เปิดการแสดงระหว่างวันจันทร์–วันศุกร์
วันละ 3 รอบ เวลา 13.00 น. / 14.30 น. และ 16.00 น.
(ความยาวการแสดงรอบละ 25 นาที) ขอแจ้งปิดการแสดงในช่วงวันสิ้นปีและวันปีใหม่ ในระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2567 ถึง วันที่ 1 มกราคม 2568
มีรถบริการรับนักท่องเที่ยว จอดรับ ณ บริเวณด้านหน้าประตูวิมานเทเวศร์ ซึ่งเป็นประตูทางออกของพระบรมมหาราชวัง (รถบริการออกก่อนรอบการแสดง 30 นาที)
นักท่องเที่ยวสามารถซื้อบัตรเข้าชมเฉพาะการแสดงโขนได้ที่โรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง ในราคาท่านละ 400 บาท
สถานที่ตั้ง
โรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง ตั้งอยู่เลขที่ 66 ถนนเจริญกรุง แขวงวังบูรพาภิรมย์
เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ : +66-2-224-4499
เว็บไซต์ : www.salachalermkrung.com
เฟซบุ๊ค : www.facebook.com/khon.salachalermkrung
ข้อมูลนักท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ซื้อบัตรเข้าชมพระบรมมหาราชวังสามารถนำบัตรเข้าชมการแสดงโขน ณ โรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง เปิดการแสดงระหว่างวันจันทร์–วันศุกร์
วันละ 3 รอบ เวลา 13.00 น. / 14.30 น. และ 16.00 น.
(ความยาวการแสดงรอบละ 25 นาที) ขอแจ้งปิดการแสดงในช่วงวันสิ้นปีและวันปีใหม่ ในระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2567 ถึง วันที่ 1 มกราคม 2568
มีรถบริการรับนักท่องเที่ยว จอดรับ ณ บริเวณด้านหน้าประตูวิมานเทเวศร์ ซึ่งเป็นประตูทางออกของพระบรมมหาราชวัง (รถบริการออกก่อนรอบการแสดง 30 นาที)
นักท่องเที่ยวสามารถซื้อบัตรเข้าชมเฉพาะการแสดงโขนได้ที่โรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง ในราคาท่านละ 400 บาท
สถานที่ตั้ง
โรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง ตั้งอยู่เลขที่ 66 ถนนเจริญกรุง แขวงวังบูรพาภิรมย์
เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ : +66-2-224-4499
เว็บไซต์ : www.salachalermkrung.com
เฟซบุ๊ค : www.facebook.com/khon.salachalermkrung